ใช้สำหรับแพทย์เท่านั้น โดย ศูนย์ส่งเสริมการวิจัย แพทยสภา (ศวพ.)
ใช้สำหรับแพทย์เท่านั้น โดย ศูนย์ส่งเสริมการวิจัย แพทยสภา (ศวพ.)
ลงชื่อเข้าใช้ในฐานะ:
filler@godaddy.com
คณะกรรมการแพทยสภา วาระ พ.ศ. 2547 ได้ออกข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วย สถาบันส่งเสริมการวิจัย พ.ศ. 2548 แต่บทบาทในเรื่องการส่งเสริมการวิจัย ก็ยังมิได้มีการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน เนื่องจากเหตุผลด้านงบประมาณ จนกระทั่งต่อมาในปี พ.ศ. 2562 ศ.เกียรติคุณ แพทย์หญิงสมศรี เผ่าสวัสดิ์ ในฐานะนายกแพทยสภา วาระ พ.ศ. 2562-2564 มีความประสงค์จะให้แพท
คณะกรรมการแพทยสภา วาระ พ.ศ. 2547 ได้ออกข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วย สถาบันส่งเสริมการวิจัย พ.ศ. 2548 แต่บทบาทในเรื่องการส่งเสริมการวิจัย ก็ยังมิได้มีการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน เนื่องจากเหตุผลด้านงบประมาณ จนกระทั่งต่อมาในปี พ.ศ. 2562 ศ.เกียรติคุณ แพทย์หญิงสมศรี เผ่าสวัสดิ์ ในฐานะนายกแพทยสภา วาระ พ.ศ. 2562-2564 มีความประสงค์จะให้แพทยสภาสามารถดำเนินการให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ในมาตรา 7 (2) ครบทุกเรื่อง จึงได้ประสานไปยัง พลตำรวจเอกนายแพทย์จงเจตน์ อาวเจนพงษ์ ผู้ซึ่งมีจิตศรัทธาอันเป็นกุศลที่จะพัฒนาการแพทย์และการสาธารณสุขของไทยให้เจริญรุดหน้าทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ และได้สนับสนุนทุนทรัพย์เพื่อกิจการของแพทยสภามาอย่างต่อเนื่อง แพทยสภาจึงได้รับงบประมาณสนับสนุนในครั้งแรกจำนวน 2,000,000.-บาท (สองล้านบาทถ้วน) เพื่อเป็นเงินทุนเริ่มต้นในการจัดตั้งเป็นกองทุนวิจัยของแพทยสภา(กองทุนพลตำรวจเอกนายแพทย์จงเจตน์ อาวเจนพงษ์) การดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรมในเรื่องการส่งเสริมการวิจัยสำหรับสมาชิกแพทยสภาจึงได้เกิดขึ้นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยคณะกรรมการแพทยสภาในการประชุมครั้งที่ 11/2562 เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาและจัดสรรทุนวิจัยของแพทยสภา (กองทุนพลตำรวจเอกนายแพทย์จงเจตน์ อาวเจนพงษ์) เพื่อพิจารณาโครงการวิจัยที่เสนอขอรับทุนจากกองทุนดังกล่าว ซึ่งคณะอนุกรรมการชุดแรกประกอบด้วย
1. ศ.เกียรติคุณ แพทย์หญิงสมศรี เผ่าสวัสดิ์ นายกแพทยสภา ที่ปรึกษา
2. นายแพทย์เอื้อชาติ กาญจนพิทักษ์ ที่ปรึกษา
3. ศ.นายแพทย์รณชัย คงสกนธ์ ประธานอนุกรรมการ
4. ศ.นายแพทย์อมร ลีลารัศมี รองประธานอนุกรรมการ
5. ศ.คลินิก แพทย์หญิงวิบูลพรรณ ฐิตะดิลก อนุกรรมการ
6. นายแพทย์สมพงษ์ ชัยโอภานนท์ อนุกรรมการ
7. ศ.แพทย์หญิงเสาวรส ภทรภักดิ์ อนุกรรมการ
8. ศ. แพทย์หญิงสุพร ตรีพงษ์กรุณา อนุกรรมการ
9. ศ.นายแพทย์กีรติ เจริญชลวานิช อนุกรรมการและเลขานุการ
ในปัจจุบันนี้ คณะกรรมการแพทยสภา ในการประชุมครั้งที่ 4/2566 เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2566 ได้จัดทำข้อบังคับแพทยสภา ว่าด้วยศูนย์ส่งเสริมการวิจัย พ.ศ. 2566 ซึ่งได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 140 ตอนพิเศษ ง ลงวันที่ 8 สิงหาคม 2566 เรียบร้อยแล้ว
ปัจจุบัน แพทยสภา ถือเป็นองค์กรวิชาชีพตามกฎหมายที่มีวัตถประสงค์สำคัญอย่างหนึ่ง ตามมาตรา 7 (2) ของ พรบ.วิชาชีพเวชกรรม คือ
ส่งเสริมการศึกษา การวิจัย และ การประกอบวิชาชีพในทางการแพทย์ ซึ่งเราคุ้นเคยกันดีกับองคาพยพแรกที่ใหญ่ที่สุด ภายใต้แพทยสภา
นั่นคือ สำนักงานเลขาธิการแพทยสภา ซึ่งปฏิบัติภารกิจตามมาตรา 7 ในข้อ 7 คือ ควบคุมความประพฤติ และส่ง
ปัจจุบัน แพทยสภา ถือเป็นองค์กรวิชาชีพตามกฎหมายที่มีวัตถประสงค์สำคัญอย่างหนึ่ง ตามมาตรา 7 (2) ของ พรบ.วิชาชีพเวชกรรม คือ
ส่งเสริมการศึกษา การวิจัย และ การประกอบวิชาชีพในทางการแพทย์ ซึ่งเราคุ้นเคยกันดีกับองคาพยพแรกที่ใหญ่ที่สุด ภายใต้แพทยสภา
นั่นคือ สำนักงานเลขาธิการแพทยสภา ซึ่งปฏิบัติภารกิจตามมาตรา 7 ในข้อ 7 คือ ควบคุมความประพฤติ และส่งเสริมการประกอบวิชาชีพ เป็นสำคัญ และประจักษ์กันโดยทั่วไป ถือเป็นหน่วยงานใหญ่ที่สุด และ มีหน่วยงานที่จัดตั้งมาตามรูปผังโครงสร้าง เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในหัวข้ออื่นๆของมาตรา 7 ได้แก่ ศูนย์ประเมินและรับรองความรู้ความสามารถตามมาตรฐานวิชาชีพเวชกรรม ของแพทยสภา (ศรว.) จัดตั้งปี 2547 , ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องของแพทย์ (ศนพ.) จัดตั้งปี 2543 , ราชวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งมีการจัดตั้งตามลำดับอย่างต่อเนื่อง
องคาพยพดังกล่าว และที่เพิ่งถือกำหนด อีก 2 หน่วยงาน คือ สถาบันมหิตลาธิเบศร (จัดตั้งปี 2565) และ ศูนย์ส่งเสริมการวิจัย (จัดตั้งปี 2566) จึงถือเป็น หน่วยงานน้องใหม่ตามกฎหมาย เพื่อให้แพทยสภาได้ปฏิบัติภารกิจอย่างครบถ้วนตามกฎหมาย และทุกหน่วยงานต้องรายงานโดยตรงต่อคณะกรรมการแพทยสภา
โลโก้ของศูนย์ส่งเสริมการวิจัย แพทยสภา
ลิขสิทธิ์ ©2024 ศูนย์ส่งเสริมการวิจัย แพทยสภา - สงวนสิทธิ์ทุกประการ
ศ.ว.พ. อาคารมหิตลาธิเบศร ชั้น 12 แพทยสภา ซอย สาธารณสุข 8 ตำบลบางเขน อำเภอเมือง นนทบุรี ประเทศไทย โทร. 025915991 ติดต่อ Admin Website admin@arwuso.com
ขับเคลื่อนโดย ศ.ว.พ.
ขอเชิญแพทย์ ทุกท่าน Add friend กับ ศ.ว.พ.
เพื่อติดตามอัพเดทข่าวสารการวิจัยในวงการแพทย์